วันอังคาร, เมษายน 16, 2024
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
บทความสุขภาพ

โรควัณโรค (Tuberculosis) ปัญหาระดับโลก

นางสาวรัชดาภรณ์ ป้องชาลี
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา


วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คืออะไร

วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ตัวโรคจะดำเนินต่อไป โดยแบ่งเป็นสามระยะ ได้แก่

การติดเชื้อระยะแรก (Primary TB Infection)

การติดเชื้อระยะแฝง (Latent TB Infection)

ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ (Active Disease)

      ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแฝง (Latent TB Infection) ในระยะนี้จะยังมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย แต่ตัวเชื้อจะอยู่นิ่ง ไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ ต่อร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อในระยะนี้จึงไม่มีอาการใด ๆ และจะไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

      อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในระยะแฝงนั้นอาจเปลี่ยนเป็นระยะกำเริบ (Active Disease) ได้ในหลายกรณี เช่น คนที่เพิ่งได้รับเชื้อวัณโรคมาไม่เกินสองปีมักเป็นการติดเชื้อระยะกำเริบ นอกจากนี้คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ผู้ที่มีภาวะขาดโภชนาการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่กำลังรับประทานยากดภูมิ หรือกำลังล้างไตอยู่) ก็มีโอกาสที่เชื้อวัณโรคจะกำเริบได้ง่ายเช่นกัน

      ถึงแม้ว่าวิธีการรักษาวัณโรคในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพสูง แต่หลายครั้งที่การติดเชื้อวัณโรคอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ กรมควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อวัณโรคมากกว่า 1 ล้านคนต่อปีทั่วโลก

      นอกจากเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) แล้ว วัณโรคอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีกสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม โบวิส (Mycobacterium Bovis) เชื้อนี้พบได้ในสัตว์บางชนิด ด้วยเหตุนี้เด็กที่ดื่มนมวัวที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาจติดเชื้อวัณโรคสายพันธุ์นี้ได้ อย่างไรก็ตาม ในประเทศพัฒนาที่แล้ว วัวทุกตัวจะถูกตรวจสอบว่าติดเชื้อวัณโรคหรือไม่ และนมส่วนใหญ่ก็ได้รับการฆ่าเชื้อแล้วเช่นกัน

จำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรคในทวีปต่าง ๆ

      ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา การติดเชื้อวัณโรคเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายหลังจากผู้มีคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1940 พบว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมาก

      ในปัจจุบัน การติดเชื้อวัณโรคสามารถพบได้มากที่สุดในทวีปแอฟริกา เอเชีย และภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจากการเก็บสถิติของกรมควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2013 พบว่า

      หนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อวัณโรค มีประชากร 9 ล้านคนทั่วโลกป่วยจากการติดเชื้อวัณโรค

มีประชากร 1.5 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อวัณโรคผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิตมากที่สุดจากการติดเชื้อวัณโรค

 การแพร่กระจายของวัณโรค

      เชื้อวัณโรคสามารถติดต่อทางการหายใจ หมายความว่า เชื้อวัณโรคสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ โดยเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อวัณโรคในระยะกำเริบ ไอ จาม หรือพูด ทำให้มีละอองฝอยเล็ก ๆ ที่มีเชื้อทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) แฝงอยู่ลอยมาในอากาศ เชื้อนี้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และผู้ที่สูดอากาศส่วนนี้เข้าไปก็จะได้รับเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรคในระยะกำเริบที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกามักเป็นผู้ป่วยที่ย้ายมาจากประเทศอื่นที่เป็นแหล่งวัณโรคชุกชุม

      อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคจะต้องป่วยเป็นวัณโรคทุกคน โดยทั่วไปเมื่อร่างกายรับเชื้อวัณโรคแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถกำจัดเชื้อวัณโรคไปได้จนหมด แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น เชื้อวัณโรคจะแฝงอยู่ในร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ เรียกว่าเป็นการติดเชื้อระยะแฝง

      อวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากวัณโรค อาการที่พบมากที่สุดคือวัณโรคที่ปอด แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อยังสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้ ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ไต ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะเพศ ลำไส้ หรือแม้แต่บนผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณปอดและลำคอก็อาจติดเชื้อได้ด้วย และในบางครั้งอาจพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรคในเด็กที่เพิ่งรับเชื้อใหม่ ซึ่งเป็นอาการที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

      ควรไปพบแพทย์เมื่อใด หากพบว่ามีอาการไอติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามมากกว่าเดิม นอกจากนี้ หลังจากผู้ป่วยสูดดมเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ โดยมีเพียง 1 ใน 10 ของผู้รับเชื้อที่จะมีโอกาสติดเชื้อ และเชื้อวัณโรคมักไปฟักตัวอยู่ที่ปอดกลีบบน ซึ่งเป็นส่วนที่มีออกซิเจนมากที่สุด ปกติเชื้อวัณโรคจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 4 – 8 สัปดาห์ อีกทั้งในระยะเริ่มแรกจะทำให้เกิดการติดเชื้อเล็กน้อย ซึ่งแทบจะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น

      ข่าวไทยรัฐ พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผอ.สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กล่าวว่า WHO ได้จัดให้ประเทศไทยติด 1 ใน 14 ประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคสูงโดยพบอัตรา 1.2 แสนคน/ปี มีผู้เข้าถึงระบบการรักษาร้อยละ 60 และเสียชีวิตสูงถึงปีละ 12,000 ราย ทั้งวัณโรคที่ติดเชื้อ HIV สูง และมีวัณโรคดื้อยารุนแรง เนื่องจากไม่มียารักษาประมาณปีละ 4,500 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มาก ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการเร่งรัดค้นหาเพื่อนำผู้ป่วยที่ติดเชื้อมารักษา เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อที่ง่ายมาก และมีการติดต่อในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่อยู่ในที่แออัด เช่นกลุ่มนักโทษ กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค HIV และกลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วย กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีการเคลื่อนย้ายไปมา สำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อควบคุมวัณโรค ได้มีการนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยในระยะเวลา 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2560-2564 ต้องลดอัตราผู้ติดเชื้อ 172 คน/1 แสนประชากร ให้เหลือ 88 คน/ 1 แสนประชากร ซึ่งเราก็พยายามเดินไปตามเป้าของ WHO ว่าภายในปี 2578 ต้องลดให้น้อยกว่า 10 คน/ 1 แสน ประชากร ซึ่งการดำเนินงานนั้นเนื่องจากมติได้ผ่าน ครม.แล้ว จึงมีการทำงานร่วมกับทุกกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักการเฝ้าระวังตัวเอง รู้จักว่าวัณโรคเป็นอย่างไร และในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเรายังมีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาที่ยังไม่รับการรักษาให้หายขาด

  ที่มา :  https://www.honestdocs.co/tuberculosis-death-causes /เรื่องวัณโรค.กรมควบคุมโรคสาธารณสุข/(2019) .ข่าวไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/home).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บสล็อตออนไลน์