วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา

ภาวะโลกร้อน

ความรู้ทั่วไปบทความภาวะโลกร้อนเทคโนโลยี

บทความ : นวัตกรรมเตาน้ำมันพืช

นวัตกรรมด้านพลังงานที่นำพลังงานลมกับน้ำมันพืชมาประยุกต์ใช้กับเตาอั้งโล่ แทนเตาแก๊ส และเตาถ่าน

Read More
ความรู้ทั่วไปธรรมชาติบทความภาวะโลกร้อน

วันโอโซนโลก

โอโซนมีบทบาทสำคัญในการกรองรังสี UV จากแสงอาทิตย์ หลังจากกรองรังสี UV แล้วโอโซนจะแตกตัวกลายเป็นแก๊สออกซิเจน (O2) กับอะตอมออกซิเจน (O) และสามารถรวมตัวกลับมาเป็นโอโซน (O3)ได้อีกเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่รู้จบ โดยโอโซนจะเข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย ได้สารที่มีโครงสร้างเล็กลง ส่วนโอโซนจะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สออกซิเจนซึ่งไม่เป็นอันตราย และไม่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จึงมีการนำโอโซนไปใช้ในอุตสาหกรรมฆ่าเชื้อโรคมากมาย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องกรองน้ำ หลายสิบปีที่ผ่านมา โอโซนได้ถูกทำลายไปอย่างมากด้วยน้ำมือมนุษย์ ตัวการสำคัญก็คือ สาร CFCs (Chlorofluorocarbons) ซึ่งเป็นแก๊สที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากอะตอมคาร์บอน คลอรีนและฟลูออรีน โดยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ให้ความเย็นในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศในบ้านหรือรถยนต์ และสเปรย์ฉีดพ่นต่างๆ 

Read More
ความรู้ทั่วไปธรรมชาติบทความภาวะโลกร้อน

ปัญหามลภาวะจากไมโครพลาสติก

ผลวิจัยล่าสุดชี้ ปัญหามลภาวะจากไมโครพลาสติกเข้าขั้นวิกฤตแล้ว หลังพบอนุภาคพลาสติกจำนวนมหาศาลฝังตัวเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของกระแสอากาศที่ไหลเวียนไปรอบโลก เสมือนกับว่าเป็นสสาร
ในธรรมชาติอย่างก๊าซออกซิเจนหรือน้ำ

Read More
ความรู้ทั่วไปธรรมชาติบทความภาวะโลกร้อน

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องช่วยกันรักษาให้มีผลกระทบน้อยที่สุดจากการดำเนินชีวิต ปัจจุบัน การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นฐานการผลิตระดับโลกนั้น มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่พอพูดถึงการทำลาย ดูแล ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ หรือการกลับนำมาใช้ของอุปกรณ์เหล่านั้น ประเทศผู้ผลิตและประเทศที่นำเข้าอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ มักประสบปัญหาการบริหารจัดการและการกำจัดขยะที่เป็นเศษซากทิ้งไว้ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อโลกในอนาคตอย่างแน่นอน

Read More
ความรู้ทั่วไปบทความภาวะโลกร้อน

อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจโฟม!

หากมีการสำรวจพฤติกรรมของคนยุคนี้ด้วยคำถามว่า “เคยทานอาหารที่บรรจุในกล่องโฟม หรือถ้วยโฟม กันไหม?” เชื่อว่าในร้อยคน จะมีผู้ตอบว่า เคยกันเกินครึ่งแน่ๆ และเผลอๆอาจเกือบทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าภาชนะที่ทำจากโฟมนี้ มีอิทธิพลกับมนุษย์ยุคเรากันมากจริงๆ อาจเพราะผู้ประกอบธุรกิจอาหารในยุคปัจจุบัน เห็นว่าภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากโฟมนั้นราคาไม่สูง สะดวกในการซื้อหา น้ำหนักเบา ใช้แล้วทิ้งได้เลย ไม่ต้องตามกลับมาล้างให้วุ่นวาย จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่แผงลอย รถเข็น ร้านอาหาร ไปถึงตามนิทรรศการ งานแฟร์ต่างๆ ทั้งในรูปของจาน กล่อง ถ้วยกาแฟโฟม

Read More
ความรู้ทั่วไปบทความภาวะโลกร้อน

Bioplastics คืออะไรกันแน่

Biobased คือ พลาสติกที่มีส่วนผสมหลักในการผลิตคือพืช หรือก็คือเป็นพลาสติกที่ทำมาจากพืช เช่น อ้อยหรือข้าวโพด ที่เป็นวัตถุดิบทดแทน ซึ่งจะไม่เหมือนกับพลาสติกที่เราใช้กันในอดีตที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อให้ได้เม็ดพลาสติก

Read More
ความรู้ทั่วไปบทความภาวะโลกร้อน

เรื่อง ความจริงที่คุณอาจไม่รู้ของถุงผ้าและถุงพลาสติก

ในปีที่ผ่านมา มีข่าวมากมายเกี่ยวกับผลกระทบของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเลมากมายที่ต้องตายเพราะพลาสติกที่กินเข้าไปการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจชาวไทย ก็มีเหตุจากการกินพลาสติกเป็นปัจจัยหนึ่ง รัฐบาลมีมาตรการเด็ดขาดในปี 2563 ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ส่วนภาคเอกชนเองก็มีนโยบายงดแจกถุงในร้านสรรพสินค้า สนับสนุนให้ประชาชนใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ถุงพลาสติกนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงผ้า เพราะพบว่าเมื่อเทียบกันแล้วนั้น ถุงผ้าส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ถุงพลาสติก เราต้องใช้ถุงผ้าอย่างน้อย 131 ครั้ง เพื่อให้คุ้มค่าต่อการผลิตเมื่อเทียบกับการใช้ถุงพลาสติกครั้งเดียว ภาครัฐและเอกชนที่ให้ลดการใช้ถุงพลาสติกและหันมาใช้ถุงผ้าการประเมินวัฏจักรชีวิต ซึ่งจะเป็นการประเมินผลกระทบของวัตถุนั้นๆ ต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งาน การแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ และการกำจัดหลังจากใช้งาน

Read More
ความรู้ทั่วไปธรรมชาติบทความภาวะโลกร้อน

วิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5

ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดนั้นก็คือปัญหาของฝุ่น PM 2.5 ที่นับวันเริ่มมีมากขึ้น กรมควบคุมมลพิษแจ้งเตือนค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวของประชาชนจำนวนมากเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ตามข่าวนั้น เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (ไมโครเมตร) หรือเล็กกว่าเส้นผมคนเราถึง 20 เท่าเลยทีเดียว

Read More