วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
บทความสุขภาพ

มหัศจรรย์แผ่นปิดห้ามเลือด

นางสาวปรางค์แก้ว แหลมสุข
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

          ชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องไม่แน่นอน หลายชีวิตต้องจากโลกไปก่อนเวลาอันควรเพราะอุบัติเหตุต่าง ๆ แม้หลายราย จะไม่เสียชีวิตทันทีแต่ก็เสียชีวิตระหว่างทางไปโรงพยาบาล เนื่องจากเสียโลหิตมาก ดังนั้นการปฐมพยาบาลห้ามเลือดผู้ประสบเหตุจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก วิธีห้ามเลือดที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันคือ การกดแผล การกดเส้นเลือดแดงเหนือแผล การใช้สายรัดนอกจาก วิธีทั่วไปวงการแพทย์ยังพยายามพัฒนาวิธีห้ามเลือดแบบใหม่ออกมาเพื่อช่วยชีวิตผู้คนซึ่งการใช้แผ่นปิดแผลห้ามเลือดก็เป็นเทคโนโลยีการห้ามเลือดแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้ร่างกายจะมีกลไกการห้ามเลือดตามธรรมชาติอยู่แต่การปฐมพยาบาล เพื่อห้ามเลือดยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก วิธีห้ามเลือดที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันคือ การกดแผล การกดเส้นเลือดแดงเหนือแผล การใช้สายรัดนอกจาก วิธีทั่วไปวงการแพทย์ยังพยายามพัฒนาวิธีห้ามเลือดแบบใหม่ออกมาเพื่อช่วยชีวิตผู้คนซึ่งการใช้แผ่นปิดแผลห้ามเลือดก็เป็นเทคโนโลยีการห้ามเลือดแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

            การใช้แผ่นปิดห้ามเลือดเป็นวิธีห้ามเลือดแบบใหม่ นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดสารทรอมบิน (thrombin) ให้บริสุทธิ์ได้จึงนำไปผสมกับสารไฟบรินทำแผ่นปิดแผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดผิวหนังให้แผ่นปิดแผลที่ปลูกถ่ายให้ทหารที่โดนไฟลวก การใช้แผ่นปิดแผลที่มีสารไฟบริน และสารทรอมบินเป็นองค์ประกอบเป็นที่ยอมรับของประเทศแถบยุโรป แต่ไม่ได้รับการยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก วงการแพทย์อเมริกันกังวลถึงโอกาสการติดเชื้อจากแผ่นปิดแผล นักวิจัยไทยดร.วนิดา จันทร์วิกา นักวิจัย และทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติมีความสนใจและศึกษาการนำไคติน ไคโตซานมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นเพื่อเตรียมวัสดุห้ามเลือดนานแล้ว โดยเฉพาะอนุพันธ์ของไคโตซานที่ชื่อ สารคาร์บอกซีเมทิลไคโตซาน (carboxymethyl chitosan) เนื่องจากอนุพันธ์ของสารนี้มีสมบัติโดดเด่นหลายอย่าง เช่น ช่วยเร่งการแข็งตัวของเลือด สามารถละลายน้ำได้ มีความเป็นพิษต่ำ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินอกจากนี้แผ่นปิดแผลต้นแบบมีความสามารถในการดูดซับเลือดดีจึงช่วยให้แผลมีสภาพแห้งและสัมผัสกับวัสดุได้ดี ส่งผลให้ประสิทธิภาพการห้ามเลือดดียิ่งขึ้น

            กลไกการห้ามเลือด (Hemostasis) ตามธรรมชาติ ร่างกายมนุษย์เป็นจักรกลมีชีวิตที่มหัศจรรย์มาก ทันทีที่ร่างกายเกิดบาดแผลและมีเลือดไหล กลไกบางอย่างในร่างกายจะทำงานเพื่อห้ามเลือดทันทีดังนี้

             1.หลอดเลือดหดตัวหลอดเลือดปกติมีสมบัติยืดหยุ่นดี สามารถหดหรือขยายตัวได้ เมื่อเกิดบาดแผลมีเลือดไหลออกมาร่างกายจะตอบสนองโดยทำให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดการเสียเลือด

            2.การกระจุกตัวของเกล็ดเลือด ทันทีที่เลือดไหล เกล็ดเลือดซึ่งลอยปะปนอยู่ในกระแสเลือดจะเข้าไปกระจุกตัวบริเวณที่หลอดเลือดฉีกขาด เกล็ดเลือดนอกจากจะมีบทบาทในการแข็งตัวของเลือดแล้ว ยังเป็นปัจจัยให้เกิดการแข็งตัวของเลือดด้วย

            3.การเปลี่ยนโปรตีนที่แฝงในน้ำเลือดให้เป็นวุ้นอุดบาดแผล เมื่อร่างกายเกิดบาดแผลจะเกิดการกระตุ้นเปลี่ยนโปรตีนในเลือดให้กลายเป็นวุ้นอุดที่บาดแผล นอกจากนี้ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งทำหน้าที่สร้าง เส้นใย โดยสานเป็นร่างแหเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหล ระบบห้ามเลือดทั้ง 3 แบบของร่างกายจะทำงานต่อเนื่องและสอดรับกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างไฟบริน ซึ่งเป็นโครงร่างตาข่ายหุ้มกลุ่มเกล็ดเลือดให้แข็งแรงและให้เลือดหยุดไหลในที่สุด

            ความรู้ประกอบ คาร์บอกซีเมทิล ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ของ ไคโตซานที่ได้จากการทำปฏิกิริยา คาร์บอกซีเมทิลเลชัน (carboxymethylation) ไคโตซานในสภาวะที่เป็นด่าง สารนี้ละลายได้ในน้ำ มีความเป็นพิษต่ำ และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

          นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดสารทรอมบิน (thrombin) ให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำไปผสมกับสารไฟบรินทำแผ่นปิดแผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดผิวหนังให้แผ่นปิดแผลที่ปลูกถ่ายให้ทหารที่โดนไฟลวกการใช้แผ่น ปิดแผลที่มีสารไฟบริน และสารทรอมบินเป็นองค์ประกอบเป็นที่ยอมรับของประเทศแถบยุโรป แต่ไม่ได้รับ การยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากวงการแพทย์อเมริกันกังวลถึงโอกาสการติดเชื้อจากแผ่นปิดแผล องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (Food and Drug Administration, FDA) จึงให้การรับรองผลิตภัณฑ์แผ่นปิดแผล ที่ผ่านการตรวจ และอนุมัติให้จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นยี่ห้อแรก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการเตรียมแผ่นปิดแผลห้ามเลือดไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์นี้ก็มีราคาสูง และประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้เสมอภาค

ที่มา wwwscimathorg/biologyarticle/item

views 1

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *