วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
บทความสุขภาพ

หลีกเลี่ยงการสร้างฝุ่น PM 2.5 ด้วยตัวเรา

หลีกเลี่ยงการสร้างฝุ่น PM 2.5 ด้วยตัวเรา

ผู้เรียบเรียง รุ่งทิวา พงษ์หนองโน
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้

PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน อาจเทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กขนาดที่ขนจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง


วิธีการหลีกเลี่ยงการสร้างฝุ่น โดยที่ PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่

    ลด ละ เลิกการเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ในภาคเหนือตอนบนของไทยและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน

    การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย รวมถึงการใช้รถยนต์ส่วนตัว ในประเทศไทยนั้น ประชากรมีรถยนต์เกือบทุกครัวเรือน หากลด ละ เลิกการขับรถยนต์ เปลี่ยนมาใช้การคมนาคมขนส่งเพียงทางเดียวก็จะสามารถช่วยลดฝุ่นลงไปอีกได้มาก

    การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและการคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ดังนั้นการช่วย ลด และประหยัดการใช้ไฟฟ้า หากช่วยกันทุกครัวเรือน นอกจากจะประหยัดไฟฟ้าแล้ว ฏ้ยังมีส่วนร่วมในการลดฝุ่นได้อีกทางด้วย

    รู้อย่างนี้แล้วหากพวกเราทุกคน ช่วยลด ละ เลิกพฤติกรรมบางอย่างลงไป จะช่วยให้ฝุ่นละอองลดลงอย่างแน่นอน

( ที่มา : https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/ )

views 0

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *