วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปบทความสุขภาพอาหาร

เม็ดไข่มุก (ในชาไข่มุก) ทำมาจากอะไร

นางสาวปรางค์แก้ว  แหลมสุข
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

หากถามถึงเครื่องดื่มยอดนิยมในยุคนี้ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึง คงไม่พ้นชานมไข่มุก ซึ่งมีให้เลือกกันหลายเจ้าหลายสูตร และหลายคนก็คงทราบดีว่า ชาไข่มุกมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไต้หวัน แต่บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ไข่มุกที่ใส่อยู่ในชานั้นทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรือสามารถนำไปทำอะไรได้นอกจากใส่ในชาไข่มุก หรือทาปิโอกา ในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลัง โดยเจ้าก้อนทาปิโอกานี้มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ก็คือเม็ดไข่มุกที่เรารู้จักกัน ไข่มุกเกิดจากกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังโดยการนำแป้งมันสำปะหลังมาทำให้ร้อน เคี่ยวกับน้ำตาลและน้ำในหม้อเล็ก ๆ จากนั้นหั่นแป้งที่เคี่ยวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปั้นให้เป็นก้อนกลม ๆ ออกมาเป็นไข่มุก มันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนสีและรสสัมผัสของไข่มุกได้โดยการเติมน้ำ และน้ำตาล หรือสีผสมอาหารต่าง ๆ อีกด้วย

เนื่องจากวัตถุดิบของเม็ดไข่มุกได้มาจากหัวมันสำปะหลัง จึงอาจกล่าวได้ว่า ไข่มุกนั้นเกือบจะเป็นคาร์โบไฮเดรต 100% ดังนั้น มันจึงปราศจากไขมันและโปรตีน เพราะในหัวมันสำปะหลังไม่มีส่วนประกอบของกลูเตนเลย จึงถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารบางอย่างที่ไม่ต้องการกลูเตน แต่ได้สัมผัสและความนุ่มชุ่มชื้นคล้ายกับใส่กลูเตน โดยทั่วไปมันสำปะหลังไม่ได้มีผลต่อร่างกายหรือสุขภาพในทางลบ ส่วนมากหากจะมีผลต่อร่างกายในทางลบก็อาจมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากในหัวมันสำปะหลังสดนั้นประกอบไปด้วยสารประกอบที่เป็นพิษเรียกว่า ลินามาริน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในร่างกายและอาจทำให้เกิดพิษไซยาไนด์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจ อย่างไรก็ตามในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพก็มีขั้นตอนในการกำจัดลินามาริน ออกไป จึงไม่ก่อให้เกิดผลต่อร่างกายของผู้บริโภค แป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบของไข่มุก นอกจากถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนม ดังเช่น เม็ดไข่มุกหรือพุดดิ้งแล้ว ในปัจจุบันยังถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกด้วย เช่น ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ซึ่งทำมาจากยางไม้ (เรซิน) ของมันสำปะหลัง

โดยทั่วไปมันสำปะหลังไม่ได้มีผลต่อร่างกายหรือสุขภาพในทางลบ ส่วนมากหากจะมีผลต่อร่างกายในทางลบก็อาจมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากในหัวมันสำปะหลังสดนั้นประกอบไปด้วยสารประกอบที่เป็นพิษเรียกว่า ลินามาริน (Linamarin) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในร่างกายและอาจทำให้เกิดพิษไซยาไนด์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจได้ ในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพก็มีขั้นตอนในการกำจัดลินามารินออกไป จึงไม่ก่อให้เกิดผลต่อร่างกายของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์เรซินสามารถทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน และภาชนะบรรจุอาหารต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงย่อยสลายได้ทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากสามารถใช้เป็นปุ๋ยได้ หรืออาจนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น ใช้รักษารูปทรงเสื้อผ้าในตอนรีดผ้า แป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบของไข่มุก นอกจากถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนม ดังเช่น เม็ดไข่มุกหรือพุดดิ้งแล้ว ในปัจจุบันยังถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกด้วย เช่น ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ซึ่งทำมาจากยางไม้ (เรซิน) ของมันสำปะหลังเป็นต้น

ที่มา : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *