ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปบทความ

เจลล้างมือป้องกันโรคภัย

นางสาวประภัสสร  รอดรัตน์
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

       เจลล้างมือทำมาจากอะไร? กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า เจลล้างมือทำมาจากเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol 70% w/w) : เป็นแอลกอฮอล์ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคได้หลากหลายชนิด มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้กว้าง ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส สามารถป้องกันได้ทันทีหลังการใช้และป้องกันได้ในระยะเวลานาน (ต้องเข้มข้น 60-80% จึงจะใช้ได้ผล เหมาะที่สุดก็คือ 70%)แอลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ได้ ฆ่าเชื้อวัณโรคได้ ฆ่าเชื้อราและไวรัสได้บางชนิด ส่วนสิ่งที่ทำลายไม่ได้ก็ ได้แก่ สปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสและเชื้อราบางตัว ดังนั้น ในทางการแพทย์จะใช้แอลกอฮอล์ในการฆ่าเชื้อที่เกี่ยวกับแผลครับ เพราะเชื้อเหล่านั้นมักจะเป็นพวกแบคทีเรีย และจะไม่ค่อยใช้ในการจัดการกับเชื้ออื่นๆ เชื้อไวรัส จะมีแค่บางชนิดที่ฆ่าโดยแอลกอฮอล์ได้ เช่น เชื้อเอชไอวีเชื้อเริม เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี เชื้อไข้หวัดใหญ่ ส่วนไวรัสในกลุ่มที่ติดต่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และเชื้อ Enterovirus มักจะไม่สามารถถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์ การใช้ล้างมือก็คล้ายกับการใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็ดมือ เช็ดแผลก็ได้

       เอทิลแอลกอฮอล์ 70% เป็นตัวที่ใช้ในทางการแพทย์และมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร โดยปกติจะระเหยเร็วในอุณหภูมิห้อง 25 องศา ปกติเอทิลแอลกอฮอล์กินได้ ต่างจากเมทิลแอลกอฮอล์ที่กินไม่ได้ จึงไม่ต้องห่วงหากใช้เจลล้างมือแล้วไปจับอาหารรับประทาน

       สำหรับวิธีล้างมือที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำมือให้เปียกด้วยน้ำ ฟอกสบู่ หรือสบู่เหลวล้างมือ เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป ด้วยวิธีการต่อไปนี้ โดยทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง และทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง (มือซ้ายและมือขวา) 1. ฝ่ามือถูฝ่ามือ  2. ฝ่ามือถูหลังมือ และนิ้วถูซอกนิ้ว  3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ  5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ  6. ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ  และ 7. ถูรอบข้อมือให้ทั่ว จากนั้นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด

       ข้อควรระวังเกี่ยวกับการล้างมือ ผ้าเช็ดมือไม่ควรใช้ร่วมกัน ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษที่ใช้ครั้งเดียวไม่ควรใช้ผ้าเช็ดมือชนิดใช้ผืนเดียวแขวนไว้ทั้งวัน ไม่ต้องใช้ฟองน้ำ หรือผ้าในการล้างมือ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะมีเชื้อโรคอยู่ ที่วางสบู่แบบก้อน ก็ควรระบายน้ำไม่ให้ไปขังในจุดวางสบู่ หากใช้สบู่เหลวหรือสบู่ยาต้องมีการทำความสะอาดขวดที่ใส่

    แหล่งอ้างอิง

http://variety.teenee.com/science/16445.html

views 2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *