วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความเทคโนโลยี

เตรียมปล่อยยานสำรวจ “โซลาร์ ออร์บิเทอร์” ไขปริศนาขั้วเหนือ-ขั้วใต้ของดวงอาทิตย์

นางสาวปรางค์แก้ว  แหลมสุข
(นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา)

            ยานสำรวจ “โซลาร์ ออร์บิเทอร์” ซึ่งเป็นยานสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ด้วยวิธีโคจรวนรอบการเตรียมพร้อม  พื่อนำส่งยานดังกล่าว ขณะนี้เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนแล้ว โดยภารกิจนี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาของสหรัฐฯ และองค์การอวกาศยุโรป (ESA) เพื่อศึกษาโครงสร้างและพลวัตรทางพลังงานของดวงอาทิตย์ในรายละเอียด ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเก็บข้อมูลและบันทึกภาพขั้วเหนือ-ขั้วใต้ของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีผู้ใดได้เห็นอย่างชัดเจนมาก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของ หลุมโคโรนา จำนวนมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เย็นกว่าและหนาแน่นน้อยกว่าบรรยากาศอันร้อนแรงโดยรอบที่ชั้นนอกของดวงอาทิตย์

 หลุมโคโรนาเหล่านี้เป็นช่องทางให้อนุภาคมีประจุพลังงานสูงภายในดวงอาทิตย์ สามารถเล็ดลอดออกสู่ภายนอกได้ ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดลมสุริยะ ยานโซลาร์ ออร์บิเทอร์ จะคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าวขณะที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาวิธีการทำนาย สภาพอากาศในอวกาศ ซึ่งจะบอกล่วงหน้าได้ว่าเมื่อใดจะเกิดพายุสุริยะ หรือการปลดปล่อยพลังงานระดับรุนแรงอย่างโซลาร์แฟลร์ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อระบบโทรคมนาคม และระบบจ่ายไฟฟ้าบนโลกได้ บริเวณขั้วเหนือและใต้ของดวงอาทิตย์ น่าจะมีสภาพแตกต่างไปจากตรงส่วนกลางของดาว ซึ่งเราได้เห็นกันบ่อยครั้ง นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เราจะรู้ถึงระดับความรุนแรงของวัฏจักรความเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ในรอบต่อไปได้

           ยานโซลาร์ ออร์บิเทอร์ มีกล้องโทรทรรศน์ 4 ตัว ที่สามารถขยายภาพพื้นผิวของดวงอาทิตย์ให้เห็นได้โดยละเอียด ทั้งยังมีอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ อีก 6 ชิ้น เพื่อตรวจจับกระแสการพัดของอนุภาคมีประจุ สำหรับขั้นตอน การนำส่งยานโซลาร์ ออร์บิเทอร์ ขึ้นสู่ห้วงอวกาศนั้น จะใช้จรวดตระกูลแอตลาส ขับดันออกนอกโลก และเดินทางมุ่งหน้าสู่ชั้นในของระบบสุริยะ ก่อนจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์และโลกเหวี่ยงตัวยานเข้าไปในวงโคจรของดาวพุธ ซึ่งห่างจากดวงอาทิตย์ราว 43 ล้านกิโลเมตร เพื่อให้เดินทางเข้าถึงจุดที่อยู่เหนือขั้วทั้งสองของดวงอาทิตย์ได้พอดี โดยคาดว่ายานจะไปถึงจุดหมายปลายทางในอีก 7 ปีหลังจากนี้

ที่มา  https: // www.bbc.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *