วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา

ดาราศาสตร์และอวกาศ

ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความเทคโนโลยี

โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment)

หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร

Read More
ดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

จักรวาลวิทยา

ส่วนใหญ่จะถือกันว่าปี 1917 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ ซึ่งเป็นปีที่ไอน์สไตน์เริ่มใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา นำมาใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อันหนึ่งที่เกี่ยวกับจักรวาล ซึ่งกลศาสตร์แบบนิวตัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป สำหรับพื้นฐานของจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ได้แก่ ทฤษฎีบิกแบง ซึ่งกล่าวว่าเอกภพ ของเรากำเนิดมาจากจุดเพียงจุดเดียว หลังจากนั้น จึงขยายตัวขึ้นเป็นเวลากว่า 13.7 พันล้านปีมาแล้ว หลักการของทฤษฎีบิกแบง เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ในปี ค.ศ. 1965

Read More
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความเทคโนโลยี

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ถ้าเราพูดถึงวัตถุอวกาศ เราจะนึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกโลกวนเวียนอยู่เต็มไปหมด ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ของวงโคจรดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลก และในอวกาศ มีประโยชน์เพื่อการศึกษาอวกาศและภาคพื้นดิน เช่น ดาวเทียม จรวด ยานอวกาศ สถานีอวกาศ อุปกรณ์เพื่อการดำรงชีวิตของนักบินอวกาศ รวมไปถึงระบบดวงดาว ต่าง ๆ กลุ่มกาแลคซี่ และอุกกาบาต เป็นต้น แล้วแท้ที่จริง “วัตถุอวกาศ” คืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน

Read More
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

ภารกิจเสร็จสิ้น 2 นักบินอวกาศนาซา เดินทางถึงสถานี ISS แล้ว EARTH TO EARTH ทุกที่บนโลกใน 1 ชั่วโมง “BFR”

Elon Musk ทำเซอร์ไพรส์อีกแล้วเรื่องนี้เกี่ยวกับจรวด SpaceX ทุกคนคงรู้ว่า SpaceX เป็นจรวดที่ขึ้นไปแล้ว กลับมาลงจอดที่ฐานได้ด้วยมาคราวนี้ แทนที่จะส่งจรวดออกนอกโลก แต่เขาจะเอาจรวดพุ่งข้ามทวีปบนโลกแทน จรวดนี้มีชื่อรุ่นว่า “BFR” สามารถไปได้เกือบทุกที่ในโลกได้ภายใน 30 นาที และไปทุกที่ในโลกได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง กรุงเทพ ไป ดูไบ 27 นาที เทียบกับเครื่องบินใช้เวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง ลอสแอลเจลิส ไป โตเกียว 32 นาที เทียบกับเครื่องบินใช้เวลา 11 ชั่วโมงครึ่ง นิวยอร์ค ไป เซี่ยงไฮ้ 39 นาที เทียบกับเครื่องบินใช้เวลา 15 ชั่วโมง ความเร็วสูงสุดของจรวด คือ 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบกับเครื่องบิน 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง “BFR” จะบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 100 คน ต่อเที่ยว Elon Musk ยืนยันว่า ต้นทุนต่อที่นั่ง จะเท่ากับ การโดยสาร โดยเครื่องบินชั้น economy เรื่องนี้จะเปลี่ยนโลกไปทั้งหมด และจะเข้ามาแย่งธุรกิจ Airline แบบเดิมด้วย

Read More
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความเทคโนโลยี

เตรียมปล่อยยานสำรวจ “โซลาร์ ออร์บิเทอร์” ไขปริศนาขั้วเหนือ-ขั้วใต้ของดวงอาทิตย์

ยานสำรวจ “โซลาร์ ออร์บิเทอร์” ซึ่งเป็นยานสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ด้วยวิธีโคจรวนรอบการเตรียมพร้อม พื่อนำส่งยานดังกล่าว ขณะนี้เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนแล้ว โดยภารกิจนี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาของสหรัฐฯ และองค์การอวกาศยุโรป (ESA) เพื่อศึกษาโครงสร้างและพลวัตรทางพลังงานของดวงอาทิตย์ในรายละเอียด ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเก็บข้อมูลและบันทึกภาพขั้วเหนือ-ขั้วใต้ของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีผู้ใดได้เห็นอย่างชัดเจนมาก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของ หลุมโคโรนา จำนวนมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เย็นกว่าและหนาแน่นน้อยกว่าบรรยากาศอันร้อนแรงโดยรอบที่ชั้นนอกของดวงอาทิตย์

Read More
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

น้ำแข็งแปลกในอวกาศ

ก้อนน้ำแข็งยักษ์ที่ลอยอยู่ในทะเล หรือน้ำแข็งหลอดในแก้วน้ำดื่ม ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลว กลายเป็นของแข็ง ที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งโมเลกุลของน้ำแข็ง จะเรียงตัว เป็นระเบียบเหมือนกันทุกทิศทาง เรียกว่า ผลึก ซึ่งน้ำแข็งที่เราพบในชีวิตประจำวัน เป็นผลึกน้ำแข็งรูปทรง หกเหลี่ยมรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากโครงสร้างพิเศษของโมเลกุลน้ำ คล้ายกับพีระมิดสามเหลี่ยมจึงทำให้สามารถเรียงตัวได้หลายรูปแบบเมื่อน้ำ เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแรงดันอากาศและอุณหภูมิ

Read More
ความรู้ทั่วไปดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

สุริยวิถี

สุริยวิถึ (Ecliptic) หมายถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° จากแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจร ในฤดูร้อนโลกหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ทำให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกหันขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ตลอดปี) ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในภาพที่ 1

Read More
ดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

2019 PDC ดาวเคราะห์น้อยจำลองที่เสี่ยงพุ่งชนโลก ซึ่งทั่วโลกกำลังซ้อมรับมืออยู่ เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO

แม้ว่ามนุษยชาติจะยังไม่เผชิญหน้ากับดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ ที่มีพลังทำลายล้างมากพอจะลบไดโนเสาร์ออกจากโลกไปได้นั้น แต่ความเสี่ยงที่เราจะต้องพบเจอก็ไม่ได้เป็น 0 แต่อย่างใด ซึ่งนั่นทำให้ทั้ง NASA, ESA, FEMA และอีกหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นที่จะต้องซ้อมรับมือกับดาวเคราะห์น้อยจำลอง โดยในปีนี้ดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นก็คือ 2019 PDC นั่นเอง

Read More
ดาราศาสตร์และอวกาศบทความ

กลุ่มดาวใหม่ล่าสุด จาก NASA ถูกตั้งชื่อว่า ‘Godzilla’

 วันที่ 22 ต.ค. 61 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า “องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ” หรือที่รู้จักกันอย่างในนาม “องค์การนาซา” (NASA) ได้ประกาศตั้งชื่อให้กลุ่มดาวรังสีแกมมาชุดใหม่จำนวน 21 กลุ่ม เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการใช้งานกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีแกมมาเฟอร์มิ (Fermi Gamma-ray Space Telescope) เพื่อตรวจจับรังสีแกมมาในระบบสุริยะจักรวาล

Read More