วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปบทความ

เรดาร์ตรวจอากาศ

นายอนุกูล เมฆสุทัศน์
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

          เรดาร์ตรวจอากาศ (weather radar) ช่วงนี้หลาย ๆ คนคงประสบกับปัญหาฝนตกโดยที่ไม่ได้เตรียมตัว ส่งผลให้ร่างกายเปียกปอน หรือ เดินทางล่าช้า จึงควรตรวจสอบพยากรณ์อากาศที่อาจส่งผลต่อ การดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วย นอกจากการรับข่าวสารพยากรณ์อากาศด้วยวิธีต่าง ๆ ยังสามารถใช้สื่อสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาประกอบด้วย เช่น ภาพจาก เรดาร์ตรวจอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อหากลุ่มของละอองฝนหรือกลุ่มก้อนเมฆที่มีโอกาสเกิดฝนตกได้ ในที่นี้จะพูดถึงการตรวจกลุ่มฝนหรือหยาดน้าฟ้าด้วยเรดาร์ (RADAR : Radio Detraction and Ranging) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจอากาศด้วยระยะไกล จากการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave)ในช่วงคลื่นวิทยุ (radio wave) ไปกระทบกับเป้า เช่น เครื่องบิน กลุ่มหยาดน้ำฟ้า กลุ่มแมลง วัตถุสูง (ตึก หรือภูเขา) แล้วสะท้อนกลับมายังเครื่องรับสัญญาณ ในกรณีที่มีวัตถุที่ถูกตรวจวัดดังรูป รูปแสดงการส่งและรับสัญญาณของเรดาร์

(ที่มา:http://companyeng.kweather.co.kr/wp-content/uploads/2019/10/RADAR.gif)

         ในทางอุตุนิยมวิทยาจะสนใจในกลุ่มหยาดน้ำฟ้าเมื่อได้รับจะมีการประมวลผลในทันทีและแสดง ออกเป็นภาพแสดงปริมาณและการเคลื่อนที่ของเมฆ (Radar loop) โดยสามารถดูฟรีได้ทางเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (http://weather.tmd.go.th) ดังตัวอย่างในรูป ด้านล่าง โดยสามารถ อ่านค่าได้ดังนี้ สีเขียวอ่อน คือ ฝนกำลังอ่อน สีเขียวแก่ คือฝนกำลังปานกลาง สีเหลืองปนแดงคือ ฝนกำลังแรง

อ้างอิงจาก

จากเรดาร์ตรวจอากาศ วันที่ 27 ตุลาคม 62 (23.00 น.)

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

รูปจากเรดาร์ตรวจอากาศ วันที่ 27 ตุลาคม 62 (23.00 น.)

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *