วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปบทความสุขภาพ

ผู้ป่วยจำนวนมากในกัมพูชา ลาว เวียดนาม ไทย ไม่ตอบสนองต่อตัวยามาตรฐาน ต่อเชื้อไข้มาลาเรีย

เชื้อปรสิตที่สามารถต้านทานยารักษาไข้มาลาเรียชนิดที่ใช้กันแพร่หลาย กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจากแหล่งกำเนิดในกัมพูชาไปยังลาว เวียดนาม และไทย ทำให้ผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐานอีกต่อไป

งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet Infectious Diseases ระบุว่า นับแต่มีการค้นพบเชื้อมาลาเรียกลายพันธุ์ที่ดื้อยาอาร์ทีมิซินิน (Artemisinin) และไพเพอราควิน (Piperaquin) ซึ่งเป็นยาชนิดหลักที่ใช้ผสมผสานกันในการรักษาไข้มาลาเรียเมื่อปี 2013 ล่าสุดพบว่าเชื้อดื้อยาดังกล่าวได้แพร่ลามออกไปจากแหล่งกำเนิดในภาคตะวันตกของกัมพูชา สู่หลายประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว

ผลการศึกษาพันธุกรรมของเชื้อในภูมิภาคดังกล่าวพบว่า เชื้อมาลาเรียกว่า 80% ที่แพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานของไทยและเวียดนามในปัจจุบันเป็นเชื้อดื้อยาประเภทนี้ ทั้งยังพบการกลายพันธุ์เพิ่มเติมในหลายพื้นที่ ซึ่งทำให้เชื้อมาลาเรียสามารถต้านทานได้แม้กระทั่งยาแรงชนิดใหม่ ๆ เช่นยา DHA-PPQ

งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet Infectious Diseases ระบุว่า นับแต่มีการค้นพบเชื้อมาลาเรียกลายพันธุ์ที่ดื้อยาอาร์ทีมิซินิน (Artemisinin) และไพเพอราควิน (Piperaquin) ซึ่งเป็นยาชนิดหลักที่ใช้ผสมผสานกันในการรักษาไข้มาลาเรียเมื่อปี 2013 ล่าสุดพบว่าเชื้อดื้อยาดังกล่าวได้แพร่ลามออกไปจากแหล่งกำเนิดในภาคตะวันตกของกัมพูชา สู่หลายประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างรวดเร็วผลการศึกษาพันธุกรรมของเชื้อในภูมิภาคดังกล่าวพบว่า เชื้อมาลาเรียกว่า 80% ที่แพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานของไทยและเวียดนามในปัจจุบันเป็นเชื้อดื้อยาประเภทนี้ ทั้งยังพบการกลายพันธุ์เพิ่มเติมในหลายพื้นที่ ซึ่งทำให้เชื้อมาลาเรียสามารถต้านทานได้แม้กระทั่งยาแรงชนิดใหม่ ๆ เช่นยา DHA-PPQ

ดร. โรแบร์โต อามาโต ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเวลคัมแซงเกอร์ของสหราชอาณาจักรบอกว่า “ปัญหาเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมที่ดื้อยาหลายขนานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลวร้ายลงอย่างมาก ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา”งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเดียวกันระบุด้วยว่า กว่าครึ่งของผู้ป่วยไข้มาลาเรียในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงไม่ตอบสนองต่อตัวยามาตรฐานที่เคยใช้เป็นยาชนิดแรกในการรักษาอีกต่อไป ทำให้มีความจำเป็นจะต้องสั่งยกเลิกการใช้ยาชนิดดังกล่าวทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยาแพร่ระบาดในวงกว้างออกไปมากกว่านี้ และหันมาใช้ยารักษาที่เป็นสูตรผสมผสานชนิดใหม่ซึ่งอาจมีตัวยาที่ใช้ร่วมกันถึง 3 ชนิด

สถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากถึง 219 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตเพราะโรคนี้ถึงปีละ 435,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในทวีปแอฟริกา

ศาสตราจารย์โอลิโว วีอ็อตโต จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของสหราชอาณาจักรแสดงความวิตกว่า การแพร่ระบาดของเชื้อดื้อยาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจลุกลามไปถึงแอฟริกาซึ่งมีผู้ป่วยไข้มาลาเรียเป็นจำนวนมากที่สุดของโลก และอาจทำให้เกิดวิกฤตการณ์เชื้อดื้อยาที่มีผู้เสียชีวิตนับล้านคน เหมือนกับกรณีของยาคลอโรควินเมื่อช่วงทศวรรษ 1980

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่าสถานการณ์เชื้อมาลาเรียดื้อยาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอาจไม่ได้ร้ายแรงเหมือนที่คาดการณ์กันไว้ โดย ศ. คอลิน ซัตเทอร์แลนด์ จากวิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งกรุงลอนดอนมองว่า การป้องกันโรคไข้มาลาเรียในหลายประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงยังคงได้ผลดีอยู่ โดยทำให้จำนวนผู้ป่วยในกัมพูชาลดลงถึง 7 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ศ.ดร. มัลลิกา อิ่มวงศ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เขียนร่วมในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในครั้งนี้แนะนำว่า “เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเชื้อดื้อยาไว้ล่วงหน้า เราจำเป็นจะต้องมีการตรวจตราเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงการตรวจพันธุกรรมของเชื้อ เพราะจำเป็นต่อการทำแผนที่การระบาดให้ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศข้างเคียงรับมือได้เร็วและเปลี่ยนยาที่ใช้ในทันทีหากจำเป็น”

อ้างอิงโดย :

https://www.bbc.com/thai/international-49080336 23 กรกฎาคม 2019

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *