ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
บทความเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

นายพีระพล ณัฐฤทธิศักดิ์
(นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา)

          เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ พระองค์ก็ได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม

          การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่มีในตัวตนของบุคคล ตลอดจนการใช้ความรู้อย่างรอบคอบ และมีคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการพิจารณาอยู่ ๕ ประการด้วยกัน ดังนี้ 

          ๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

          ๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 

          ๓. ค่านิยม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะประกอบกันดังนี้

           ๓.๑ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 

 ๓.๒ ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ

          ๓.๓ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้เหมือนรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงการความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

          ๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานดังนี้

           ๔.๑ ด้านความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านและรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและระมัดระวังในการปฏิบัติ

           ๔.๒ ด้านคุณธรรม จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 

          ๕. แนวทางการปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงดัง กล่าว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้น้อมรับและนำไปขับเคลื่อนในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้สร้างกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะของเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน 

อ้างอิง :“ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง .”.[ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก:http://www. nesdb.go.th/SufficiencyEcon/main.htm 2549. “ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

views 0

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *